ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา ตอนที่ 3

  • by

การสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

ในการสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนานั้น มีเรื่องที่ต้องทำอยู่ ๒ ประการเป็นสำคัญ คือ

         ๑.  การอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและประชาชนชาวไทยได้ร่วมใจกันกอบกู้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้สำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วโลก แต่เศรษฐกิจกับจิตใจจะต้องไปคู่กัน จึงจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน หากผู้คนในสังคมขาดการพัฒนาจิตใจ ไม่มีศีลธรรม เห็นแก่ตัว อยู่แบบตัวใครตัวมัน ครอบครัวแตกแยก ประชาชนไม่มีความสุข สังคมไร้เสถียรภาพ การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็จะไม่ยั่งยืนและไร้ความหมาย สภาพสังคมที่มั่นคงสงบร่มเย็นเท่านั้น จึงจะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งรองรับความเจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจได้ซึ่งในการอบรมศีลธรรมนี้ เราอาจแบ่งประชาชนออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ

         นักเรียน นิสิต นักศึกษา เยาวชนซึ่งอยู่ในระบบการศึกษา รวมจำนวนประมาณ ๑๓ ล้านคนเหล่านี้ คืออนาคตของชาติ และอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนในสถานศึกษาต่างๆ อยู่ในภาวะพร้อมจะ เรียนรู้อยู่แล้ว ดังนั้นการจัดทำหลักสูตรวิชาศีลธรรมที่ดีมีคุณภาพ การจัดอบรมธรรมะภาคฤดูร้อนแก่เยาวชนของชาติ หากรัฐบาลประกาศเป็นนโยบายและให้การสนับสนุนแก่กลุ่มองค์กรชาวพุทธต่างๆ ให้ช่วยกันดำเนินการ ก็จะล่งผลดีต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติในระยะยาวอย่างมาก

         ข้าราชการ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมประมาณ ๔ ล้านคน จัดเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย การที่คณะรัฐมนตรีได้มีอนุมัติให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐสามารถลาไปปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานได้ปีละ ๓-๔ วัน โดยไม่ถือเป็นวันลานั้น เป็นนโยบายที่ดีมาก และจะดียิ่งขึ้นหากได้สนับสนุนให้ข้าราชการระดับสูงได้กระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง กระตุ้นให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการอย่างกว้างขวาง รวมทั้งขยายแนวคิดนี้ไปสู่ภาคเอกชน พนักงานบริษัท ห้างร้านต่างๆ ด้วย

         ประชาชนทั่วไป รัฐบาลควรประกาศเป็นนโยบายให้การสนับสนุนการเผยแผ่ธรรมะ อบรมศีลธรรมแก่ประชาชนตามสื่อต่างๆ ทุกประเภท เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ศึกษาธรรมะตลอดชีวิต และประชาสัมพันธ์ฟื้นฟูธรรมเนียมการบวชพระช่วงเข้าพรรษาให้ครบ พรรษาจนกระทั่งรับกฐินเสร็จเรียบร้อย รวมเวลาประมาณ ๔ เดือน เพื่อผู้บวชจะได้มีเวลาศึกษาธรรมะเพียงพอ

         นอกจากนี้อบายมุขทุกประเภท ไม่ว่าเหล้าเบียร์ของมึนเมา หรือการพนัน เป็นสิ่งบ่อนทำลายคุณภาพของประชาชนอย่างแรง เป็นภัยต่อความรุ่งเรืองมั่นคงของชาติในระยะยาว รายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียมจากอบายมุขเหล่านี้ไม่คุ้มค่ากับคุณภาพของคน และศีลธรรมของสังคมที่เสียไป เหมือนบริษัทใหญ่ๆ ที่มีพนักงานจำนวนมาก แม้ในหมู่พนักงานจะมีผู้ที่ชอบเล่นการพนัน เจ้าของบริษัทก็คงไม่คิดตั้งบ่อนภายในบริษัทเพื่อป้องกันรายได้รั่วไหล เพราะได้ไม่คุ้มเสีย แต่ควรรณรงค์อย่างต่อเนื่องด้วยมาตรการต่างๆ เพื่อให้พนักงานที่ลุ่มหลงในอบายมุขเหล่านี้มีจำนวนลดน้อยลงและเลิกไปในที่สุด ดังนั้นรัฐบาลควรเป็นผู้นำในการรณรงค์ให้ประชาชนเลิกอบายมุข ดังโครงการงดเหล้าในเทศกาลต่างๆ ซึ่งดีมาก และควรเชิดชูเกียรติคุณแก่บุคคลหรือองค์กรที่มีผลงานการรณรงค์ให้เลิกอบายมุข และปลูกฝังศีลธรรมแก่ประชาชนที่ได้ผลเป็นรูปธรรมจริง

         ๒. การสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวพุทธ ชาวพุทธทั้งประเทศควรจะสามัคคีกันเป็นปึกแผ่น เลิกถือเขาถือเรา ไม่หลงใช้กำลัง และเวลามาทะเลาะเบาะแว้ง โจมตี กลั่นแกล้งกีดกัน บั่นทอนกันเอง จนเป็นเหตุให้กำลังของพระพุทธศาสนาโดยรวมอ่อนแอลง นำไปสู่ความล่มสลายดังที่เคยเกิดในประเทศอินเดีย แต่ควรช่วยกันเผยแผ่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามความถนัดความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาโดยรวม การสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวพุทธนี้ พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ที่มีความสำคัญมาก หากคณะสงฆ์ไทยมีความสมัครสมานสามัคคีกัน และทุ่มเทศึกษาค้นคว้าคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งปริยัติ และปฏิบัติแล้วนำมาเผยแผ่อบรมสั่งสอนแก่ประชาชนอย่างจริงจัง ปลุกประชาชนให้ตื่นตัวขึ้นมาศึกษาปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันทั่วประเทศ ก็จะเป็นการสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธ ศาสนาที่ได้ผลดีที่สุด กล่าวได้ว่า ถ้าสงฆ์สามัคคีกันชาวพุทธโดยรวม ก็จะสามัคคีกันตามมาด้วย

         นอกจากนี้ผู้ที่มีบทบาทอย่างมาก ต่อความมั่นคงของ พระพุทธศาสนาก็คือสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนคือผู้ที่สามารถช่วย กระตุ้นให้ประชาชน เห็นถึงความจำเป็นที่ชาวพุทธจะต้อง สามัคคีกัน เพราะหากมัวแต่ทะเลาะกันจนกระทั่งพระพุทธศาสนาเกิดความระสำระสายอ่อนแอ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการฉวยโอกาส นำเรื่องของ ความแตกต่างระหว่างศาสนามาเป็น เงื่อนไขสู่การแบ่งแยกดินแดนเกิดเป็นสงครามกลางเมืองที่น่าเศร้าใจ เช่นที่เคย เกิดมาแล้วในดิน แดนต่างๆ มากมาย ดังโศกนาฏกรรมที่เกิดในบอลเปียและเลบานอน เป็นต้น

         หากสื่อมวลชนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ ช่วยกันเสนอข่าวที่เสริมสร้างความมั่นคงของชาติ และพระพุทธศาสนา เช่น ข่าวกิจกรรมการทำศวามดีของชาวพุทธ การนำเสนอ เรื่องราวชีวิต และผลงานของพระภิกษุหรือบุคคลผู้ตั้งใจประพฤติธรรม หรืออุทิศ ตนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องราวดีๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ร่วมอนุโมทนา การที่สื่อมวลชนสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า นำมาซึ่งขวัญกำลังใจและความสุข ความปลื้มปีติใจให้กับประชาชนเช่นนี้ ย่อมถือว่าได้ใช้ศักยภาพของตนมาสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับพระพุทธศาสนาได้อย่างน่าชื่นชม

         ตรงกันข้าม การนำเสนอข่าวที่มีแนวทางไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์นั้น เป็นสิ่งที่ล่อแหลมต่อการเกิดความแตกแยกทางศาสนา อย่างยิ่ง ทั้งที่เนื้อหาของข่าวนั้น มาจากความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่บุคคล และบุคคลเหล่านั้นอาจมิได้มีเจตนาร้ายเลยก็ตาม

         แต่ด้วยลักษณะการนำเสนอข่าวที่ต้องใช้ความขัดแย้ง ความรุนแรง มากระตุ้นความสนใจของมวลชน จึงก่อให้เกิดภาพลบที่อันตราย เพราะสามารถชี้นำความคิดของประชาชนส่วนใหญ่ได้ ดังที่เราได้เห็นกันแล้วว่า ความคิดเห็นของนักคิดหรือของพระภิกษุเพียงไม่กี่รูป ที่ปรากฏผ่านสื่อมวลชนต่างๆ นั้น ได้ก่อให้เกิดภาพขัดแย้ง ภาพการ โจมตีกันของบุคลากรของพระพุทธศาสนาขึ้นในสายตาและความรู้สึกของประชาชน ทั้งที่ความเป็นจริงบุคลากรของพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ยังคงมีพระภิกษุสงฆ์กว่า ๓๐๐,๐๐๐รูป ทั่วประเทศไทย ที่ทำความดีอยู่อย่างสงบ

         ความเป็นจริงอีกข้อหนึ่งที่ทุกคนควรคำนึงถึงก็คือ แม้กฎหมายที่ร่างขึ้นโดยพยายามใช้ถ้อยคำที่รัดกุม ขัดเจนที่สุด นัก กฎหมายก็ยังมีความเห็นความเข้าใจต่างๆ กันไป ดังนั้นแม้จะใช้พระไตรปิฎกฉบับเดียวกัน แต่การจะให้ชาวพุทธทุกคนทุกกลุ่มมีความเห็นตรงกันหมด เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก การโจมตีบุคคลอื่นที่มีความ เห็นไม่เหมือนตน รังแต่จะนำไปสู่ความแตกแยก ชาวพุทธควรจะแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง โดยขอให้ชาวพุทธทุกคน ทุกหมู่เหล่า เลิกตั้งแง่รังเกียจกัน แต่ให้ช่วยกันเผยแผ่ธรรมะอบรมประชาชนให้เป็นคนดี เลิกอบายมุข มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร เคารพผู้ใหญ่ กตัญญูต่อพ่อแม่ จงรักภักดีต่อชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างสมาเสมอ ก็ใช้ได้

         ทุกคนล้วนมีบทบาทในการสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะ เป็นพระภิกษุสงฆ์ หรือประชาชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา หากทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของความสามัคคีในหมู่ชาวพุทธ ไม่นิยม ไม่ยกย่อง ไม่ให้ความสำคัญผู้ที่ชอบกล่าววิพากษ์วิจารณ์ โจมตีชาวพุทธด้วยกันเอง ไม่ว่าจะโดยอ้างเหตุใดๆ ก็ตาม แต่สรรเสริญชื่นชมชาวพุทธที่ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา หากได้รู้จักพระภิกษุสงฆ์รูปใดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม และทำงานอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังไม่ว่าท่านจะพำนัก อยู่ในตัวเมืองหรือในชนบท   แม้อยู่ในป่าเขาถิ่นทุรกันดารก็ตาม ก็ให้การสรรเสริญยกย่อง นำเรื่องราวมาบอกกล่าวให้ผู้อื่นได้ทราบได้อนุโมทนา ชาวพุทธที่แท้ต้องมีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไม่เป็นคนถือมงคลตื่นข่าวไม่เซ่อตามข่าวในทันที แต่มีใจมั่นคงหนักแน่นในพระรัตนตรัย มุ่งมั่นทำความดีต่อไปอย่างไม่ ย่อท้อ เมื่อคนจำนวนมากทำอย่างนี้ก็จะก่อเกิดเป็นกระแสสังคม ทำให้เกิดเป็นวงจรบวก คนทำดีก็จะมีกำลังใจ ผู้ที่ชอบโจมตีให้ร้ายคนอื่น เมื่อไม่มีใครนิยมยกย่อง ก็จะลดบทบาทและเปลี่ยนท่าทีของตนมาเป็นทางช่วยกันสร้างสรรค์พระพุทธศาสนาแทน ทำให้เกิดความสามัคคีเป็นปึกแผ่น นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และความสงบร่มเย็นของสังคมโดยรวม

การเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ


         แต่ก่อนนั้นการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ จะเป็นไปในลักษณะ “ไปตายดาบหน้า” เมื่อไปก็ไม่คิดกลับ ตั้งใจจะไปตายที่นั่น เลย เพราะระยะทางที่ห่างไกล การเดินทางก็ไม่สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ เช่น การที่พระโสณะ พระอุตตระมาเผยแผ่ยังประเทศไทยในสมัยพระเจ้าอโศก ผู้ที่ไปเผยแผ่ต้องเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์สูงส่งจริงๆ

         การเดินทางมักอาศัยเส้นทางการค้า เช่น พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าในเอเชียกลางและประเทศจีนตามเส้นทางสายไหม ส่วน ชาวมุสลิมก็มีวิทยาการการเดินเรือที่ก้าวหน้ามากในยุคหนึ่ง นักสอนศาสนาอิสลามจึงติดตามขบวนเรือสินค้าไปเผยแผ่ศาสนาในหมู่เกาะต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตอนใต้ของฟิลิปปินส์

         เช่นเดียวกับยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก บาทหลวง ชาวคริสต์ก็ติดตามขบวนเรือสินค้าและเรือรบเข้าไปเผยแผ่ศาสนา ในดินแดนต่างๆ ที่ตกเป็นอาณานิคม เป้าหมายในการเผยแผ่ศาสนาก็คือคนในท้องถิ่น โดยภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ก็ไปเรียนรู้เอาที่นั่นเลย ไม่ได้เป็นอุปสรรคมากมายอะไร

         ต่อมาเมื่อวิทยาการเจริญก้าวหน้ามากขึ้น การเดินทางสะดวกขึ้น ก็มีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานทั้งระยะสั้นระยะยาวของ ประชากรในโลกมากขึ้น ทำให้เกิดรูปแบบการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศแบบใหม่ โดยที่ศาสนาเข้าไปพร้อมๆ กับการอพยพของผู้คน เช่น ชาวจีนอพยพไปในที่ต่างๆ ก็นำพุทธศาสนามหายานไปด้วย ชาวไทยอพยพเข้าอเมริกา ก็นำพระพุทธศาสนาไปด้วย มีการสร้างวัด นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่จำพรรษาสั่งสอนประชาชน เป็นการพยายามรักษาวัฒนธรรมและศาสนาเดิมในสิ่งแวดล้อมใหม่

         อย่างไรก็ตามการเผย แผ่ศาสนาแบบนี้ แม้ว่าช่วงแรกจะดูดีเพียงไรก็ตาม แตกยังจำกัดวงอยู่เพียงในหมู่ผู้อพยพ ซึ่งถ้าหากไม่ สามารถเจาะเข้าไปสู่คนท้องถิ่นนั้นๆ ได้ ก็ถือว่ายังไม่มั่นคง เพราะผู้อพยพรุ่นแรกจะมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ และตายลงตามลำดับ ส่วนลูกหลานผู้อพยพซึ่งเกิดในประเทศใหม่ มีวัฒนธรรมภาษาต่างกัน ก็ค่อยๆ กลมกลืนกลายเป็นคนในประเทศนั้น วัฒนธรรมนั้น ถ้าผู้เผยแผ่ศาสนาไม่มีการปรับตัวทั้งด้านภาษาและการอบรมสั่งสอน ยึดติดรูปแบบเดิมๆ แล้ว ศาสนาที่ผู้อพยพรุ่นแรกพยายามก่อร่างสร้างขึ้นในดินแดนนั้นๆ ก็จะค่อยๆ เสื่อมสลายไปในที่สุด ประเด็นสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดความมั่นคงของการเผยแผ่ศาสนาในต่างแดนอยู่ที่ว่า จะสามารถปลูกจิตสำนึกพร้อมกับเจาะเข้าไปในหมู่คนท้องถิ่นได้หรือไม่

ความจำเป็นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

         มีบางท่านคิดว่า ทำไมจึงต้องไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ต่างประเทศให้ชาวต่างชาติด้วย ในประเทศไทยเราก็ยังทำได้ไม่ดี เต็มที่เลย น่าจะทำในประเทศไทยให้ดีก่อน ความคิดนี้ถ้าจะเปรียบแล้วก็เหมือนกับผู้ที่คิดว่า ทำไมประเทศไทยต้องผลิตสินค้าส่งไปขายต่างประเทศด้วย ในประเทศไทยเราก็ยังผลิตสินค้าหลายอย่างได้ ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคเลย น่าจะผลิตเพื่อซื้อขายใช้กันในประ เทศไทยก็พอแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงถ้าเราทำอย่างนั้น ผลสุดท้ายคือประเทศจะล้มละลาย เพราะไม่ว่าเราจะผลิตสินค้าส่งไปขายต่างประเทศหรือไม่ ต่างประเทศเขาก็ส่งสินค้ามาตีตลาดประเทศไทยอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรามัว แต่ตั้งรับอย่างเดียว อย่างไรเสียก็ตั้งรับไม่อยู่ ๑๐๐% เขาก็จะค่อยๆ แย่งเอาตลาดลูกค้าชาวไทยไป ทีละน้อยๆ จนหมดในที่สุด

         วิธีการแกไขคือ เราจะต้องบุกไปภายนอกด้วย โดยเมื่อเราผลิตสินค้าตั้งเป้าตีตลาดไปทั่วโลกแล้ว ก็จะเกิดภาวะกดดันให้เรา ต้องปรับปรุงคุณภาพ พัฒนาสินค้าเป็นการใหญ่ เพื่อให้แข่งขันกับตลาดโลกได้ และการที่เราพัฒนาปรับปรุงตัวเข่นนี้ ก็จะเป็นทั้งการรุกไปช้างหน้า และเป็นการรักษาตลาดในประเทศของตัวด้วย เพราะสินค้าและวิธีการจัดจำหน่ายต่างๆ มีการพัฒนาในระดับโลก สามารถสู้กับสินค้าต่างชาติได้แล้ว

         เช่นเดียวกับ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา (มิได้หมายความว่าเป็นสินค้า แต่เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นสถานการณ์ : ผู้เขียน) เรา จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดนหรือไม่ ศาสนาอื่นเขาก็มาเผยแผ่อยู่ในประเทศไทยเต็มไปหมด และทำงานกันเต็มที่เนิ่นนานมาแล้ว บางกลุ่มบางองค์กรก็สามารถดึงคนไทยไปนับถือศาสนาเขาได้อย่างรวดเร็ว มีศาสนิกมากมายเรือนแสนในเวลาเพียงไม่ถึง ๓๐ ปี

ถ้าเรามัวตั้งรับอย่างเดียว พุทธศาสนิกชนชาวไทยก็จะค่อยๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ และอาจหมดไปในที่สุด เหมือนในอินเดียก็ได้ เรา จึงจำเป็นต้องทุ่มเทสนับสนุนการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่าง แดนอย่างเต็มที่ และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดนนี้เอง จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ประกาศพระพุทธศาสนาของเราตื่นตัวที่จะพัฒนาตัวเองทั้งความรู้ในหลักธรรม การประยุกต์ใช้ การอบรม เทศน์สอน การปฏิบัติตน และด้วยโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น ซึ่งทักษะที่ได้รับการพัฒนานี้เองก็จะย้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ส่งผลทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศมั่นคงด้วยเช่นกัน

         พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีคำสอนที่ลุ่มลึก สมบูรณ์ด้วยเหตุและผล  กว้างขวางครอบคลุมทั้งประโยชน์ในชาตินี้ ชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน นักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีใจเป็นกลางไม่ลำเอียง จะต้องยอมรับว่าคำสอนในพระพุทธศาสนานี้ เป็นเลิศที่สุดนี้คือสิ่งที่ชาวพุทธควรภาคภูมิใจ แต่เราก็ไม่ควรจะประมาทเพราะแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะมีคำสอนที่ดีเลิศ เคยเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนคาสนิกชนมากกว่าทุกศาสนาเมื่อ ๒๐๐ ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันท่ามกลาง ความ ผันผวนทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ จำนวนพุทธคาสนิกชนกสับลดลงไปมาก กล่าวกันว่าเหลือชาวพุทธจริงๆ เพียงประมาณ ๓๐๐ ล้านคน เท่านั้น ในขณะที่ชาวคริสต์เพิ่มจำนวนเป็นประมาณ ๒,๕๐๐ ล้านคน ชาวมุสลิมเพิ่มเป็นกว่า ๑ พันล้านคน ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ?

         เรื่องของการเผยแผ่ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรหรือสื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งวิธีการทำงาน การบริหารงาน ล้วนเป็นเรื่องสำคัญที่ ควรคำนึงถึงว่าจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เราจะมัวแต่ภาคภูมิใจเฉพาะในแก่นคำสอนอันดีเลิศของพระ พุทธศาสนาเพียงเท่านั้นไม่ได้ เรายังมีภารกิจอีกมากมายที่รออยู่ จะต้องมีการปรับปรุง เทคนิควิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยต้องรู้จักนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ แนวทางการนำเสนอใหม่ๆ มาใช้ให้สอดคล้องกับ ภาวะเศรษฐกิจสังคมของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น ให้กระแสธารชุ่มเย็น แห่งพุทธธรรมซึมซาบแผ่กว้างไปในใจของชาวโลก ดับไฟกิเลสที่เร่าร้อน นำสันติสุขกลับคืนมาสู่โลก ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจของทุกคนทุกฝ่าย โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำของพระพุทธศาสนาและชาวพุทธ จักต้องตระหนักในภารกิจอันยิ่งใหญ่

ดังพุทธโอวาท…

         “…ภิกษุทั้งหลาย เธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น ให้งดงามในท่ามกลาง ให้งดงามในที่สุดลงรอบ จงประกาศพรหมจรรย์ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์โลกทั้งหลายที่เป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ผู้จักอาจรู้ ทั่วถึงธรรมนั้นมีอยู่ เขาเหล่านั้นย่อมเสื่อมจากคุณที่พึงได้พึงเห็น เพราะเหตุที่ไม่ได้ฟังธรรม
ภิกษุทั้งหลาย แม้เราเองก็จักไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเหมือนกัน”
วิ. มหา. ๔/๓๒/๓๙

——————————————————————————
ที่มา : หนังสือ “ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา ” โดย พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *