การนำธุรกิจสุรา–เบียร์ เข้าตลาดหลักทรัพย์ กับปัญหาจริยธรรม

  • by
[dropcap]ถึ[/dropcap]งแม้ว่าเหล้าหรือน้ำเมา จะมีอยู่คู่สังคมไทยมาช้านานแสนนานแล้วก็ตาม แต่เมื่อก่อนคนไทยก็ยังดื่มกันไม่มาก ปัจจุบันคนไทยดื่มน้ำเมามากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก โดยเฉพาะวันนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงในสังคม คือ วัยรุ่นหญิงชาย คนหนุ่มสาว หันมานิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันมากขึ้น จากผลการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2546 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 19 ปี หันมาดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นกว่า 500,000 คน ด้วยค่านิยมผิด ๆ โดยเฉพาะกลุ่มนิสิตนักศึกษาวัยรุ่นส่วนใหญ่ ที่รู้สึกว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติและมองว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มเพื่อความสนุกสนาน เพื่อการเข้าสังคม ดื่มแล้วทำให้เท่ห์ โก้ เก๋ โดยไม่ได้ตระหนักถึงโทษภัยอันตรายอันมากมายของน้ำเมาเลย
[blankline] [one_half] [dropcap]ปั[/dropcap]จจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สถิติการดื่มของเยาวชนเพิ่มมากขึ้น คือกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่พยายามสร้างภาพของการดื่มให้เป็นเรื่องของแฟชั่น ขายราคาถูกลง และทำให้หาซื้อได้ง่าย ดังนั้นปัจจุบันอายุเฉลี่ยของนักดื่มหน้าใหม่จึงน้อยลงเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ
สุราและเครื่องดื่มประเภทมึนเมาหลากหลายชนิดถูกผลิตขึ้นเพื่อมอมเมาผู้ที่อยากลองดื่มและที่ดื่มที่ติดแล้ว และใช้สื่อโฆษณาเป็นที่จูงใจ แม้ว่าจะมีการควบคุมเรื่องการโฆษณาหรือกำหนดเวลาในการโฆษณาก็ตาม สุรานั้นเป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นห้างร้านใหญ่น้อย โชห่วย ทุกชุมชนมีให้เห็นกันมากมาย จึงเป็นเหตุให้ผู้ดื่มสุรายากจะอดใจ ผู้ที่คิดอยากลองก็มีมากมาย เพราะรูปแบบการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ มีเห็นอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ประกอบกับการโฆษณาที่จะให้ถึงตัวกลุ่มเป้าหมายทั้งนักดื่มหน้าเก่าและกลุ่มเป้าหมายนักดื่มหน้าใหม่ซึ่งก็คือเยาวชนของชาติที่ผู้ผลิตพยายามพัฒนาอยู่ตลอดเวลาด้วยงบประมาณมหาศาล
[/one_half] [one_half_last] [dropcap]สุ[/dropcap]ราเป็นเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หาซื้อง่าย ไม่มีการควบคุม และสามารถดื่มได้เกือบทุกสถานที่ เพราะเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้มีการดื่มสุราในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ในสังคมระดับครอบครัว เมื่อผู้นำครอบครัวติดสุรา ปัญหาที่พบบ่อยที่สุด คือการทะเลาะวิวาท การหย่าร้าง การทำร้ายร่างกายและเกิดอาชญากรรม

         ดังนั้นการที่จะทำให้ธุรกิจนี้เจริญก้าวหน้าในแง่เศรษฐกิจ สร้างกำไรมหาศาลให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะที่จะมีการนำธุรกิจนี้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งในทางกลับกันผลเสียจากน้ำมหาภัยนี้ก็จะกระจายขยายไปทวีคูณด้วยเช่นนั้น แล้วทางรอดของประเทศไทยอยู่ที่ไหน อยู่ที่ธุรกิจหรืออยู่ที่การมีประชากรที่มีคุณภาพและศักยภาพที่แท้จริง ถ้าคิดพิจารณาอย่างเป็นกลางด้วยสติประกอบด้วยปัญญา และเจตนาที่ไร้ผลประโยชน์ด้านเม็ดเงินครอบงำ ผู้มีอำนาจและบทบาทในการกำหนดทิศทางประเทศก็น่าจะรู้คำตอบที่ชัดเจนสำหรับต่อปัญหานี้โดยไม่ยากนัก
[/one_half_last] [blankline]

[line] โดย นางสาวสุภาพร พงศ์ชีวะกุล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *