การบริโภคเนื้อสัตว์ในทัศนะพุทธจริยศาสตร์ฝ่ายมหายานและเถรวาท

  • by

โดย …. อัญธิกา ปุณริบูรณ์

         ในปัจจุบันจะว่าไปแล้วการทานมังสวิรัติก็ยังเป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไปอยู่มาก อีกทั้งพุทธศาสนาเองก็มีความเชื่อที่ว่ามนุษย์และสัตว์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แต่พืชเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกันแต่ไม่มีจิตวิญญาณ แต่ยังไงก็ตามถึงจะเชื่อแบบนี้ทางศาสนาเองก็อาจจะดูยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งปัญหานี้สามารถตีความได้หรือไม่ว่าเป็นการสนับสนุนให้มีการฆ่าสัตว์ ถ้าคำตอบคือ “ใช่” คำถามที่ตามมาก็คือ ทาไมพุทธศาสนาจึงมีคำสอน 2 อย่างที่ขัดแย้งกัน คำสอนแรกคือ “หลักปาณาติบาต” ยืนยันว่าไม่ควรฆ่าสัตว์ แต่ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท มีข้อความบางตอนที่ระบุว่า “แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงฉันเนื้อสัตว์ และมีข้อความว่าทรงอนุญาตให้พระภิกษุ (รวมทั้ง ภิกษุณี สามเณร และสามเณรีด้วย) ฉันเนื้อสัตว์และเนื้อปลาได้”

         ข้อความเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาได้ว่า ทำไมพุทธศาสนาที่สอนเรื่องความเมตตากรุณา จึงไม่สอนว่า“การบริโภคเนื้อสัตว์เป็นบาป” ทำไมพระภิกษุในพุทธศาสนาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจึงยังฉันเนื้อสัตว์อยู่ ท่านน่าจะทราบว่าการที่พระภิกษุยอมรับเนื้อสัตว์ย่อมเป็นสาเหตุให้มีการฆ่าสัตว์เพื่อปรุงเป็นภัตตาหารมาถวาย ฝ่ายเถรวาทนั้นค่อนข้างยืนยันชัดเจนว่าการที่พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ชาวพุทธบริโภคเนื้อสัตว์เป็นคนละเรื่องกับการฆ่าสัตว์ ถ้าฆ่าสัตว์บริโภคเองต้องถือว่าบาป แต่การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ฆ่า ไม่จำเป็นที่เราจะต้องรับผิดชอบในทางศีลธรรม เหตุผลของฝ่ายเถรวาทนี้ ฝ่ายมหายานไม่อาจรับได้ เพราะฝ่ายมหายานตีความว่าการที่คนบริโภคเนื้อสัตว์ย่อมเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการฆ่าสัตว์ ดังนั้นผู้บริโภคเนื้อสัตว์จะปัดความรับผิดชอบทางศีลธรรมโดยอ้างว่าเนื้อนั้นตนไม่ได้ฆ่าไม่ได้ เพราะการบริโภคของท่านเป็นปัจจัยให้เกิดการฆ่า ถ้าเช่นนั้นท่านก็ต้องรับผิดชอบในความผิดที่เกิดขึ้นนี้ด้วย


หมายเหตุคลิกที่หนังสือ 1 ครั้งเพื่อขยายให้เต็มจอ และคลิกอีก 1 ครั้ง เพื่อเข้าสู่โหมดการอ่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *