หลักสูตรปริญญาโท

  • by

1. ชื่อหลักสูตร

[line] ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Master of Buddhist Studies

2. ชื่อปริญญา

[line] ชื่อเต็มภาษาไทย : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสตร์)
ชื่อย่อภาษาไทย : พธ.ม. (พุทธศาสตร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Buddhism (Buddhist Studies)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.B. (Buddhist Studies)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

[line] โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

4. ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

[line] 4.1 เพื่อผลิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิตผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา บริบูรณ์พร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นผู้นำสังคมทางด้านจิตใจ
4.2 เพื่อผลิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิตผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ และความเชี่ยวชาญทาง พระพุทธศาสนา ที่จะสามารถเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมหาปูชนียาจารย์ โดยถ่ายทอดและบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างเป็นระบบ
4.3 เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่อันเกิดจากการค้นคว้าวิจัยในเชิงลึก โดยมีเป้าหมายเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากลและให้บริการทางวิชาการพุทธศาสนาแก่สังคม

5. โครงสร้างหลักสูตร

[line] หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตมีการจัดการเรียนการสอนแบบรายวิชา มีรายละเอียดโครงสร้างดังนี้

กลุ่มวิชา

จำนวนรายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

1. กลุ่มวิชาบังคับแกน (Required Courses) 8 14
2. กลุ่มวิชาเอก (Major Courses) 4 8
3. กลุ่มวิชาเลือก (Elective Courses) 4 8
4. วิทยานิพนธ์ (Thesis) 1 12
5. กลุ่มวิชาประสบการณ์มหาบัณฑิต
(Graduate Experience Courses)
2
6. กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน (Remedial Courses) 3
รวมทั้งสิ้น 22 42

5.1 กลุ่มวิชาบังคับแกน 8 รายวิชา ดังนี้

หมวดพระพุทธศาสนา
BD 211 101 ประวัติและพัฒนาการพุทธศาสนา 2 หน่วยกิต
BD 211 102 พระไตรปิฎกและการตีความ 2 หน่วยกิต
BD 211 103 พุทธศาสนาเถรวาท 2 หน่วยกิต
BD 211 104 พุทธศาสนามหายานและวัชรยาน 2 หน่วยกิต
หมวดปรัชญา
BD 211 105 ปรัชญาอินเดีย 2 หน่วยกิต
BD 211 106 พุทธปรัชญาวิเคราะห์ 2 หน่วยกิต
BD 211 107 ปรัชญาจีนและญี่ปุ่น 2 หน่วยกิต
หมวดภาษาต่างประเทศ
BD 210 108 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ไม่นับหน่วยกิต (S/U)

5.2 กลุ่มวิชาเอก 4 รายวิชา ดังนี้

หมวดวิจัย
BD 211 201 ระเบียบวิธีวิจัยทางพุทธศาสตร์ 2 หน่วยกิต
BD 211 202 วิทยานิพนธ์วิจารณ์ 2 หน่วยกิต
หมวดภาษาคัมภีร์
**เลือกภาษาบาลีหรือภาษาสันกฤตอย่างใดอย่างหนึ่ง 4 หน่วยกิต
BD 211 203 ภาษาบาลีพื้นฐาน 1 2 หน่วยกิต
BD 211 204 ภาษาบาลีพื้นฐาน 2 2 หน่วยกิต
BD 211 205 ภาษาสันสกฤตพื้นฐาน 1 2 หน่วยกิต
BD 211 205 ภาษาสันสกฤตพื้นฐาน 2 2 หน่วยกิต

5.3 กลุ่มวิชาเลือก 4 รายวิชา ดังนี้

หมวดสัมมนา
BD 211 301 สัมมนาวรรณกรรมทางพุทธศาสนา 2 หน่วยกิต
BD 211 302 สัมมนาสารัตถธรรมในพระสูตรมหายาน 2 หน่วยกิต
BD 211 303 สัมมนางานวิจัยทางพุทธศาสตร์ 2 หน่วยกิต
หมวดประเด็นเฉพาะ
BD 211 304 การศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่อง “บารมี” 2 หน่วยกิต
BD 211 305 การศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่อง “ธรรมกาย” 2 หน่วยกิต
BD 211 306 การศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่อง“สมถวิปัสสนา” 2 หน่วยกิต
หมวดพุทธศาสตร์
BD 211 307 จิตวิทยาพุทธศาสนา 2 หน่วยกิต
BD 211 308 สังคมวิทยาพุทธศาสนา 2 หน่วยกิต
BD 211 309 พุทธจริยศาสตร์ 2 หน่วยกิต
หมวดศาสนศาสตร์
BD 211 310 ประวัติศาสตร์และปรัชญาศาสนา 2 หน่วยกิต
BD 211 311 เทววิทยาและปรัชญาคริสต์ 2 หน่วยกิต
BD 211 312 วิธีวิทยาในการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ 2 หน่วยกิต

5.4 วิทยานิพนธ์

BD 211 401 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

5.5 กลุ่มวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิต

BD 210 501 ธรรมปฏิบัติ ไม่นับหน่วยกิต (S/U)
BD 210 502 ทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรับมหาบัณฑิต ไม่นับหน่วยกิต (S/U)

5.6 กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน

เป็นวิชาที่ไม่นับรวมหน่วยกิตในหลักสูตรและไม่นำมาคำนวณคะแนนเฉลี่ยสำหรับนักศึกษาที่ไม่เคยศึกษารายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนียมาก่อน จะต้องเรียนลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐาน 3 รายวิชาควบคู่กับการเรียนหลักสูตรปริญญาโท ดังนี้

GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ ไม่นับหน่วยกิต (S/U)
GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ไม่นับหน่วยกิต (S/U)
GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ไม่นับหน่วยกิต (S/U)

6. คำอธิบายรายวิชา

[line] 6.1 กลุ่มวิชาบังคับแกน

[feature_box title=”BD 211 101 ประวัติและพัฒนาการพุทธศาสนา (HISTORY AND DEVELOPMENT OF BUDDHISM) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาประวัติและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่พุทธศาสนาดั้งเดิม พุทธศาสนาเถรวาท มหายาน วัชรยาน และตันตรยาน วิเคราะห์เปรียบเทียบพุทธประวัติและหลักคำสอนทั้งเถรวาทและมหายาน รวมถึงวิวัฒนาการของพุทธศาสนาในอินเดียตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงการเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังดินแดนแถบเอเชียและโลกตะวันตก และอิทธิพลของแต่ละนิกายที่มีต่อประเทศต่างๆ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 102 พระไตรปิฎกและการตีความ (TRIPITAKA AND HERMENEUTICS) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาความเป็นมาของการรวบรวมพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎก และการถ่ายทอดโครงสร้างและสาระสังเขปของพระไตรปิฎก ตลอดจนแนวทางการตีความหลักธรรมสำคัญที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น อริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ ไตรสิกขา กรรม สังสารวัฏ อัตตา อนัตตา นิพพาน นรก สวรรค์ จิต วิญญาณ
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 103 พุทธศาสนาเถรวาท (THERAVADA BUDDHISM) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาทในด้านประวัติ พัฒนาการ นิกายสำคัญ และหลักคำสอนสำคัญ ภาษาที่จารึกคัมภีร์ การจัดลำดับชั้นคัมภีร์ รูปแบบการถ่ายทอดและรักษาคำสอน ความสำคัญของพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อสังคมไทย และอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อชีวิตและสังคมยุคปัจจุบันตลอดจนประเทศต่างๆทั่วโลก
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 104 พุทธศาสนามหายานและวัชรยาน (MAHAYANA AND VAJRAYANA BUDDHISM) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาแนวความคิดและแนวปฏิบัติอันเป็นลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน โดยศึกษาเทียบเคียงกับแนวความคิดและแนวปฏิบัติของพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อทำความเข้าใจความหลากหลายทางความคิดของพุทธศาสนาหลังพุทธกาลที่ปรากฏในประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ทิเบต มองโกเลีย เป็นต้น
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 105 ปรัชญาอินเดีย (INDIAN PHILOSOPHY) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาแนวความคิดสำคัญอันเป็นรากฐานของอารยธรรมอินเดีย เช่น ความคิดเรื่องพรหมัน อาตมัน มายา กรรม สังสารวัฏ โมกษะ เลือกศึกษาเฉพาะแนวความคิดสายอาสติกะ เริ่มที่พระเวทและวิวัฒนาการของแนวความคิดที่สืบทอดจากวัฒนธรรมพระเวทในคัมภีร์อุปนิษัทและภควัทคีตา ตลอดจนสำนักปรัชญาหกสำนัก รวมถึงปรัชญาอินเดียร่วมสมัย เช่น ปรัชญาของราธกฤษณัน กฤษณมูรติ เป็นต้น
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 106 พุทธปรัชญาวิเคราะห์ (BUDDHIST PHILOSOPHY ANALYSIS) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาวิเคราะห์คำสอนและแนวคิดของพุทธศาสนาในเชิงปรัชญาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ได้แก่ เถรวาท สรวาสติวาท เสาตรานติกะ มาธยมิกะ และโยคาจาร โดยศึกษาเน้นหนักพุทธปรัชญาเถรวาทในทฤษฎีจริยศาสตร์ ญาณวิทยา และอภิปรัชญา เปรียบเทียบกับปรัชญาตะวันตก ครอบคลุมปัญหาที่สำคัญในพุทธปรัชญา เช่น ปัญหาเรื่อง อนัตตา อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท กรรม และนิพพาน
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 107 ปรัชญาจีนและญี่ปุ่น (CHINESE AND JAPANESE PHILOSOPHY) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดและลักษณะเด่นของปรัชญาจีนตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ ปรัชญาขงจื๊อ เหลาจื๊อ เม่งจื้อ เป็นต้น ในหัวข้อเกี่ยวกับมนุษย์ ธรรมชาติ สังคม การเมือง และอุดมคติสูงสุด ตลอดจนอิทธิพลของลัทธิขงจื้อในจีนและญี่ปุ่น อิทธิพลของศาสนาชินโตต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น รวมถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเซ็น นิกายสุขาวดี และนิกายนิชิเร็นในญี่ปุ่น
[/feature_box] [feature_box title=”BD 210 108 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา (ENGLISH FOR GRADUATE STUDIES) ไม่นับหน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาและมุ่งพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล เน้นพัฒนาทักษะการอ่าน เพื่อทำความเข้าใจภาษาอังกฤษที่เป็นทั้งศัพท์เทคนิคและศัพท์ทั่วไป ศึกษาโครงสร้างของภาษา การเรียบเรียงและการเสนอความคิดในบทความหรือวารสารวิชาการ รวมทั้งหนังสือตำราเรียนในแขนงวิชาศาสนาและปรัชญา เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า
[/feature_box]

6.2 กลุ่มวิชาเอก

[feature_box title=”BD 211 201 ระเบียบวิธีวิจัยทางพุทธศาสตร์ (RESEARCH METHODOLOGY IN BUDDHIST STUDIES) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาระเบียบวิธีวิจัย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย วิธีการวิจัยแบบต่าง ๆ ขั้นตอนในการทำวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหาที่จะศึกษา การเขียนโครงการวิจัย และการเขียนรายงานวิจัย โดยเน้นการวิจัยทางพุทธศาสตร์เป็นหลัก ตลอดจนฝึกหัดเขียนโครงร่างงานวิจัย โดยกำหนดประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างน้อย 1 ประเด็น ภายใต้ความเห็นชอบของอาจารย์ประจำวิชา
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 202 วิทยานิพนธ์วิจารณ์ (DISSERTATION CRITIQUE) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาลักษณะเฉพาะของวิทยานิพนธ์ทางด้านศาสนา ทั้งแนวการวิจัยคัมภีร์ แนวการวิจัยภาคสนาม และแนวการวิจัยเปรียบเทียบ ศึกษาลักษณะของวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ โดยประเมินจากการกำหนดหัวข้อและแนวคิดที่จะวิจัย ประเด็นการวิจัย การวิเคราะห์ การตีความข้อมูล และการอ้างเหตุผล ตลอดจนเข้าใจจรรยาบรรณในการวิจัยและจริยธรรมสำหรับผู้ทำวิจัย
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 203 ภาษาบาลีพื้นฐาน 1 (FUNDAMENTAL PALI 1) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาการอ่าน การเขียน และหลักไวยากรณ์บาลีระดับพื้นฐาน ครอบคลุมอักขรวิธี นามศัพท์ คุณนาม สรรพนาม อัพยยศัพท์ อาขยาต กิตก์ สมาส ตัทธิต สนธิ (มคธ-ไทย-มคธ) เพื่อทำความเข้าใจความหมายของศัพท์พื้นฐานทางพุทธศาสนา และสามารถใช้พจนานุกรมภาษาบาลีในการสืบค้นหาความรู้จากคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาด้วยตนเองและแปลภาษาบาลี
** สำหรับผู้ที่สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยคขึ้นไป ไม่ต้องลงเรียนภาษาบาลีพื้นฐาน 1 และภาษาบาลีพื้นฐาน 2
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 204 ภาษาบาลีพื้นฐาน 2 (FUNDAMENTAL PALI 2) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาการอ่าน การเขียน และหลักไวยากรณ์บาลีระดับพื้นฐานต่อจากวิชาภาษาบาลีพื้นฐาน 1 และแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาบาลี โดยเลือกศึกษาจากธัมมปทัฏฐกถาและชาตกัฏฐกถา และเน้นศึกษารูปแบบคำ วลี และประโยคภาษาบาลีเพื่อเสนอผลงานวิจัย
[/feature_box] [feature_box title=”BD 211 205 ภาษาสันสกฤตพื้นฐาน 1 (FUNDAMENTAL SANSKRIT 1) 2 หน่วยกิต” title_color=”fff” header_color=”369″] ศึกษาอักขรวิธี อักษรเทวนาครี การสนธิ โครงสร้างประโยคพื้นฐาน คำนาม สรรพนาม คุณศัพท์ และนิบาต ธาตุทั้ง 10 หมวด คำอุปสรรค กริยาอาขยาต กริยากฤต การสร้างคำ โดยวิธีสมาส ฝึกหัดแปล และแต่งประโยคสันสกฤตเป็นไทย และไทยเป็นสันสกฤต ให้ครอบคลุมหลักไวยากรณ์และหลักสนธิที่ได้ศึกษามา< [/feature_box] [feature_box title="BD 211 206 ภาษาสันสกฤตพื้นฐาน 2 (FUNDAMENTAL SANSKRIT 2) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาหลักไวยากรณ์สันกฤตระดับพื้นฐานต่อจากวิชาภาษาสันสกฤตพื้นฐาน 1 ได้แก่ กริยากฤต คำสมาส กริยาอาขยาต การสร้างรูปเหตุกัตตุวาจกจากรูปกริยาต่างๆ นามธาตุ สังขยา การสร้างคำนาม การสร้างคำวิเศษณ์จากคำนามด้วยการต่อท้ายปัจจัย เมื่อศึกษาหลักไวยกรณ์จบแล้ว จะฝึกหัดแปลสันสกฤตเป็นไทย โดยเลือกศึกษาจาก วรรณคดีนิทานสันสกฤต เช่น หิโตปเทศ นละ-ทมยันตี เวตาลปญจวึศติ เป็นต้น โดยเน้นศึกษารูปแบบคำ วลี และประโยคภาษาสันสกฤตเพื่อพื้นฐานในการทำงาน วิจัยเชิงลึกต่อไป [/feature_box] 6.3 กลุ่มวิชาเลือก [feature_box title="BD 211 301 สัมมนาวรรณกรรมทางพุทธศาสนา (SEMINAR ON THE BUDDHIST LITERATURE) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์วิเสสทางพุทธศาสนาเถรวาท เช่น สมันตปาสาทิกา สุมังคลวิลาสินี สารัตถปกาสินี สุมังคลวิลาสินี สารัตถปกาสินีเปฏโกปเทศ เนตติปกรณ์ วิสุทธิมรรค และมิลินทปัญหา รวมทั้งคัมภีร์บาลีที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ต่างๆ เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสนวงศ์ จามเทวีวงศ์ จุลวงศ์ และมหาวงศ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ลักษณะพิเศษและคุณค่าของวรรณกรรมในแต่ละคัมภีร์ที่มีต่อรูปแบบและความเชื่อถือของชาวพุทธ [/feature_box] [feature_box title="BD 211 302 สัมมนาสารัตถธรรมในพระสูตรมหายาน (SEMINAR ON ESSENCE OF MAHAYANA SUTRAS) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนามหายานจากพระสูตรที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวความคิดและแนวปฏิบัติในพุทธศาสนามหายานนิกายต่างๆ คือ มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ ปรัชญาปารมิตาสูตร ทศภูมิกสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร สุขาวตีวยูหสูตร ลังกาวตารสูตร วิมลเกียรตินิรเทศสูตร สันธินิรโมจนสูตรและอภิธรรมโกศศาสตร์ รวมถึงวรรณกรรมสันสกฤตที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น คัมภีร์มหาวัสตุ ลลิตวิสตระ คัมภีร์พุทธจริต คัมภีร์มหายานสูตราลังการ เป็นต้น [/feature_box] [feature_box title="BD 211 303 สัมมนางานวิจัยทางพุทธศาสตร์ (SEMINAR ON BUDDHIST RESEARCH) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] สัมมนาในหัวข้อหรือประเด็นต่างๆที่น่าสนใจ ตามสถานการณ์ของวงการพระพุทธศาสนาหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการบูรณาการแนวคิดเชิงพุทธเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่างๆ หรือเพื่อปรับเปลี่ยนท่าทีแนวคิดให้ทันต่อสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน [/feature_box] [feature_box title="BD 211 304 การศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่อง “บารมี” (A CRITICAL STUDY ON THE CONCEPT OF PARAMI) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่อง “บารมี” ทั้งในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน โดยวิธีฟังบรรยายทบทวนเอกสารเชิงเนื้อหาและทฤษฎี อภิปรายร่วมกับผู้สอน และเรียนรู้ด้วยการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้เรียน เพื่อขยายความรู้ความคิดในประเด็นดังกล่าว และเพื่อตอบประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ [/feature_box] [feature_box title="BD 211 305 การศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่อง “ธรรมกาย” (A CRITICAL STUDY ON THE CONCEPT OF DHAMMAKAYA) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่อง “ธรรมกาย” ทั้งในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน โดยวิธีฟังบรรยายทบทวนเอกสารเชิงเนื้อหาและทฤษฎี อภิปรายร่วมกับผู้สอน และเรียนรู้ด้วยการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้เรียน เพื่อขยายความรู้ความคิดในประเด็นดังกล่าว และเพื่อตอบประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ [/feature_box] [feature_box title="BD 211 306 การศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่อง “สมถวิปัสสนา” (A CRITICAL STUDY ON THE CONCEPT OF SAMATHA-VIPASSANA) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่อง “สมถวิปัสสนา” ทั้งในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน โดยวิธีฟังบรรยายทบทวนเอกสารเชิงเนื้อหาและทฤษฎี อภิปรายร่วมกับผู้สอน และเรียนรู้ด้วยการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้เรียน เพื่อขยายความรู้ความคิดในประเด็นดังกล่าว และเพื่อตอบประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ [/feature_box] [feature_box title="BD 211 307 จิตวิทยาพุทธศาสนา (BUDDHIST PSYCHOLOGY) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาเรื่องจิตและเจตสิกในพุทธศาสนาโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับปรมัตถธรรม โดยศึกษาเปรียบเทียบกับหลักจิตวิทยาสมัยใหม่ตามแนวทฤษฎีตะวันตก เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ ประเภท และกระบวนการทำงานของจิต ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับสภาวะชีวิต ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม หลักการและวิธีการรักษาจิต การพัฒนาจิตเพื่อสร้างสุขภาวะทางปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนา และการประยุกต์พุทธจิตวิทยาในด้านต่างๆ [/feature_box] [feature_box title="BD 211 308 สังคมวิทยาพุทธศาสนา (BUDDHIST SOCIOLOGY) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาและวิเคราะห์คำสอนทางสังคมที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา โดยเปรียบเทียบแนวความคิดทางสังคมตามแนวพุทธศาสตร์กับแนวความคิดและทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยา เช่น วิวัฒนาการสังคม การพัฒนาสังคม ปัญหาสังคม การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สถาบันสังคม เป็นต้น โดยเลือกศึกษาในบริบทสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน [/feature_box] [feature_box title="BD 211 309 พุทธจริยศาสตร์ (BUDDHIST ETHICS) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เกี่ยวกับความดี ความชั่ว บุญ บาป เกณฑ์ตัดสินความดีความชั่ว เสรีภาพ เป้าหมายของชีวิต ฯลฯ ตามทัศนะของพุทธปรัชญา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับทฤษฎีจริยศาสตร์บางสำนักทั้งของปรัชญาตะวันออกและตะวันตก และศึกษาประเด็นสำคัญในระบบจริยศาสตร์ของพุทธศาสนาเพื่อตอบปัญหาจริยธรรม เช่น การประกอบอาชีพโสเภณี การทำแท้ง การทำโคลนนิ่ง อัตตวินิบาตกรรม การุณยฆาต การประหารชีวิต รวมทั้งหลักจริยศาสตร์ธุรกิจ จริยศาสตร์การแพทย์ [/feature_box] [feature_box title="BD 211 310 ประวัติศาสตร์และปรัชญาศาสนา (HISTORY AND PHILOSOPHY OF RELIGION) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาประวัติความเป็นมาของการนับถือศาสนาของมนุษย์ ประวัติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม เน้นความสันพันธ์ทางประวัติศาสตร์ คำสอน และพิธีกรรม รวมทั้งวิเคราะห์หลักคำสอนที่เป็นปรัชญาของแต่ละศาสนา เช่น ประสบการณ์ทางศาสนา ความจริงทางศาสนา ปัญหาเรื่องสิ่งสูงสุด ปัญหาความชั่วร้าย ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและศาสนา ศรัทธากับปัญญา ภาษาในศาสนา ความยุติธรรมในศาสนา ความเป็นพหุนิยมทางศาสนา ชีวิตหลังความตาย และจุดหมายสูงสุดของชีวิต [/feature_box] [feature_box title="BD 211 311 เทววิทยาและปรัชญาคริสต์ (CHRISTIAN THEOLOGY AND PHILOSOPHY) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาวิวัฒนาการของความคิดทางเทววิทยาและปรัชญาคริสต์ตั้งแต่สมัยสังคายนาแห่งแคลซีดอนจนถึงสมัยปัจจุบัน เน้นอิทธิพลของปรัชญากรีกที่มีต่อคริสต์ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างเทววิทยากับปรัชญา และวิเคราะห์คำสอนของนักเทววิทยา เช่น Augustine, Aquinas, Luther, Kierkegaard, Tillich, Hick เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ในทางศาสนศาสตร์ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้า [/feature_box] [feature_box title="BD 211 312 วิธีวิทยาในการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ (METHODOLOGY IN COMPARATIVE RELIGIONS) 2 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาจุดมุ่งหมาย หลักการและวิธีการของศาสนาเปรียบเทียบ เช่น วิธีการทางปรัชญา ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา และทางจิตวิทยา วิเคราะห์เนื้อหาสำคัญของศาสนาโลก ได้แก่ ศาสนาปฐมบรรพ์ ศาสนาตะวันตก ศาสนาตะวันออก และศาสนาใหม่ เปรียบเทียบศาสนาเทวนิยมกับศาสนาอเทวนิยมในประเด็นที่สำคัญ คือ กำเนิดศาสนา ศาสดาสาวก นิกายสำคัญและคัมภีร์หลักของศาสนานั้นๆ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญทางศาสนา โดยพิจารณาวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นหลักเกี่ยวกับความจริงสูงสุด ทฤษฎีความรู้ และหลักจริยธรรม เพื่อให้เข้าใจศาสนาต่าง ๆ ในแง่ปรัชญาและเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข [/feature_box] 6.4 วิทยานิพนธ์ [feature_box title="BD 211 401 วิทยานิพนธ์ (THESIS) 12 หน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาค้นคว้าและทำวิจัยเฉพาะบุคคลในหัวข้อที่สนใจ ซึ่งจะต้องเป็นความคิดริเริ่มของนิสิตเอง และจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เคยผ่านการพิจาณาเพื่อให้ได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยหรือจากสถาบันการศึกษาอื่นๆมาก่อน โดยหัวข้อและโครงร่างวิทยานิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยที่เนื้อหาวิทยานิพนธ์ต้องสอดคล้องตามลักษณะวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องดำเนินการวิจัยภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ [/feature_box] 6.5 กลุ่มวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิต [feature_box title="BD 210 501 ธรรมปฏิบัติ (BUDDHIST MEDITATION) ไม่นับหน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยภาคทฤษฎีเน้นหลักคำสอนทางพุทธศาสนาที่นำไปสู่หลักการปฏิบัติทั้งแบบสมถะและวิปัสสนาภาวนา ตามที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์วิเสส รวมทั้งตามแนวทางการปฏิบัติธรรมของสำนักต่างๆ ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยเน้นแนวการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายอย่างลึกซึ้ง การศึกษาในภาคทฤษฎีกำหนดไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามระยะเวลาและสถานที่ตามแต่มหาวิทยาลัยจะกำหนด ทั้งนี้ระยะเวลารวมของการปฏิบัติธรรมต้องไม่น้อยกว่า 1 เดือน [/feature_box] [feature_box title="BD 210 502 ทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรับมหาบัณฑิต (SKILLS AND PROFESSIONAL EXPERIENCES FOR GRADUATE STUDENT) ไม่นับหน่วยกิต" title_color="fff" header_color="369"] ฝึกฝนทักษะรวบยอดและการประยุกต์ใช้วิชาความรู้ผ่านการอบรมเข้มเชิงปฏิบัติการ ร่วมกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่มอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อฝึกทักษะและประสบการณ์ในการเป็นผู้นำสังคมทางด้านจิตใจและปัญญา เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์และความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ พัฒนาบุคลิกภาพและภาวะผู้นำ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อพัฒนาความเป็นพุทธศาสตรมหาบัณฑิตที่สมบูรณ์ [/feature_box]

7. คำอธิบายการกำหนดรหัสวิชา

[line] [feature_box title=”รหัสวิชาของรายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธวิทยา รหัสตัวเลขมีทั้งหมด 6 ตำแหน่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้” title_color=”111″ header_color=”D2D2D2″] รหัสตัวเลขสองตำแหน่งแรก แสดงถึง รหัสวิชาของหลักสูตรระดับปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธวิทยา
รหัสตัวเลขตำแหน่งที่สาม แสดงถึง ประเภทของรายวิชา
0 หมายถึง ไม่มีหน่วยกิต (non-credit)
1 หมายถึง มีหน่วยกิต (credit)
[/feature_box]